ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี :
มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายในการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาค จึงขยายเขตการศึกษาไปตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ที่จังหวัดเพชรบุรี ใช้ชื่อว่า วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ตั้งอยู่บนเลขที่1 หมู่ที่3 ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ 621 ไร่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2540 ที่ตั้งวิทยาเขตสารสนเทศ แห่งนี้มีความเหมาะสมทั้งทางภูมิศาสตร์ และศักยภาพของสภาพแวดล้อมทางกายภาพทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ดิน ตลอดจนระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค/ สาธารณูปการ เพราะอยู่ติดถนนใหญ่ เส้นทางสำคัญจากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ภาคใต้ ในพื้นที่มีบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ อุดมด้วยพันธุ์ไม้นานาพรรณ พื้นที่โดยรอบข้างเคียง มีโรงเรียนวิทยาลัย เกษตรกรรมและเทคโนโลยี กรมปศุสัตว์ ฯลฯ อีกทั้งจังหวัดเพชรบุรี ยังเป็นศูนย์กลางบริเวณภาคกลางตอนล่างที่ติดต่อกับภาคใต้ตอนบน เป็นจังหวัดที่มี ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรมมีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าหลายแห่ง ชีวิตความเป็น อยู่ของ ประชาชนในพื้นที่ สอดคล้องกับเป้าหมายในการเปิดบริการทางการศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ขึ้นใหม่ ซึ่งมีหลักการที่สืบเนื่อง มาจากสาขาวิชาต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยมีการเปิดดำเนินการมาแล้ว สามารถร่วมเปิดสอนเป็นวิชาศึกษาทั่วไปได้ สร้างความพร้อมให้ สาขาวิชาที่จะเปิดขึ้นใหม่ เจริญพัฒนาได้อย่างรวดเร็วการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตแห่งนี้ใช้รูปแบบผสมผสาน ระหว่างวิทยาเขตสารสนเทศกับ มหาวิทยาลัยแบบดั้งเดิม คือมีทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยใช้ระบบสารสนเทศ เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอน และกิจกรรมด้านอื่นๆ ของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการให้ บริการทางวิชาการ แก่สังคมตามพันธกิจการจัดการศึกษาสาขาต่างๆ โดยจะให้บริการ ในเขตพื้นที่ 9 จังหวัด คือ
1. จังหวัดเพชรบุรี
2. จังหวัดราชบุรี
3. จังหวัดนครปฐม
4. จังหวัดสุพรรณบุรี
5. จังหวัดกาญจนบุรี
6. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
7. จังหวัดสมุทรสงคราม
8. จังหวัดสมุทรสาคร
9. จังหวัดชุมพร
10. จังหวัดชัยนาท
11. จังหวัดอยุธยา
12. จังหวัดระนอง
13. จังหวัดลพบุรี
14. จังหวัดสระบุรี
15. จังหวัดสิงห์บุรี
16. จังหวัดอ่างทอง
17. จังหวัดอุทัยธานี