มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ม.ทับแก้ว" ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ แต่ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยเพียง 428 ไร่ โดยเป็นที่ตั้งของคณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์(ชั้นปีที่1) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(ชั้นปีที่ 1-2) และคณะมัณฑนศิลป์(ชั้นปีที่1)นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเปิดให้มีการเรียนการสอนแบบสหศึกษาแก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษาปีที่ 1-6และชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรม ศูนย์วิจัยและพัฒนา ศูนย์วิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการต่างๆ
สาเหตุที่เลือกจังหวัดนครปฐมเป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยเหตุผลดังนี้
- ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทาง โบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะ ทาง วรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์
- ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่แล้ว
- ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร
สิ่งอำนวยความสะดวก
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร หรือ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
ที่มารูปประกอบ : https://geolocation.ws
ศูนย์หนังสือมหาวิทยลัยศิลปากร นครปฐม
วังท่าพระ เมื่อ พ.ศ. 2507 มีฐานะเป็นแผนก สังกัดกองกลาง สำนักงานอธิการบดี วังท่าพระ โดยใช้สถานที่ทำการร่วมกับแผนกอื่นๆ ในสำนักงานอธิการบดี ซึ่งตั้งอยู่ ณ อาคารด้านหลังอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีพื้นที่ให้บริการประมาณ 50 ตารางเมตร เมื่อมหาวิทยาลัยสร้างอาคารหอสมุดวังท่าพระแล้ว จึงได้เข้าทำการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2518 แต่เนื่องจากความจำกัดของพื้นที่ที่ให้บริการ จึงได้ขยายพื้นที่ห้องบริการวารสารไปยังห้อง 3103 ชั้นใต้ดินอาคารศูนย์รวม 3 และในเวลาต่อมาได้มีการย้ายพื้นที่บริการโสตทัศนูปกรณ์ และพื้นที่การทำงานของบุคลากรไปยังชั้น 3 และชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการเดิม บริเวณด้านหลังอาคารหอสมุดฯ
ที่มารูปประกอบ : http://borankadeesamanprachamban.blogspot.com
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.old.su.ac.th
สำนักดิจิทัลเทคโนโลยี
สำนักดิจิทัลเทคโนโลยี ได้จัดตั้งในปี พ.ศ. 2533 มี หน้าที่ให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์และ การวิจัยในรายวิชา ต่างๆ ที่สอนในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ประโยชน์สำหรับนักศึกษา โดยให้ได้ผลตรง ตามความต้องการของตลาด ซึ่งจะใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในการฝึกหัด ให้นักศึกษามีประสบการณ์เพิ่ม และให้บริการ ในการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในงานบริหารธุรการ รวมทั้งส่งเสริม การผลิตสื่อการเรียน การสอน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ใน การฝึกอบรมแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย ให้บริการ เครือข่าย ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูล และฝึกอบรมแก่ส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆและดำเนินการ วิจัยในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เป็น ประโยชน์ต่อชุมชนด้านที่สามารถจัดทำได้โดยสำนักดิจิทัลเทคโนโลยีให้บริการดังกล่าว ทุกวิทยา เขตของมหาวิทยาลัย ได้แก่ วังท่าพระ สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และวิทยาเขตเพชรบุรี
ที่มารูปประกอบ : http://www.bdt.su.ac.th
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.bdt.su.ac.th
ติดต่อ/การเดินทาง
รถตู้
- ท่ารถตู้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ใต้ทางด่วน ฝั่งพระราม 6) ค่าโดยสาร 60 บาท ลงหน้ามหาวิทยาลัยได้เลยนะคะ เริ่มตั้งแต่ 05.00-20.30
- ท่ารถตู้เซ้นทรัล พระราม 2
- ท่ารถตู้เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า (พระศิวะ) ค่าโดยสาร 45 บาท ลงหน้ามหาวิทยาลัยได้ เริ่มตั้งแต่ เวลา 06.00-22.00
เดินทางโดยรถประจำทาง บขส. (ธรรมดา หรือปรับอากาศ) ที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ การขึ้นรถ บขส. ทั้งสองประเภท ควรขึ้นรถที่ใช้เส้นทางสายใหม่และเป็นสายที่ผ่านด้านหน้ามหาวิทยาลัย (ด้านถนนทรงพล) (รถประจำทางที่ผ่านสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ได้แก่ สาย 40, 57, 66, 123, 124, 125, 146, 170, 515, 516, 539, 542, 556)
รถบัส ขึ้นได้ที่ สายใต้ใหม่ (ปิ่นเกล้า) หรือสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน) ขึ้นได้ทุกสาย สำหรับรถที่ลงภาคใต้ เช่น ดำเนินสะดวก
รถไฟ การเดินทางโดยรถไฟ สามารถลงที่สถานีรถไฟนครปฐม
แผนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์