k2 table
คุณมีคำถาม? เรามีคำตอบ!
คำถาม และคำตอบเกี่ยวกับ
1. การขอหนังสือสำคัญผ่านระบบออนไลน์
2. การขอหนังสือสำคัญด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย
3. บัตรประจำตัวนักศึกษา
4. หอพักนักศึกษา
5. การเงินนักศึกษา
6. การลงทะเบียน
7. สถานภาพนักศึกษา
8. การประมวลผลการศึกษา
9. การสำเร็จการศึกษา
จ่ายเงินค่าหนังสือรับรองออนไลน์ไปแล้ว แต่ทำไมระบบขึ้นไม่จ่าย ?
ระบบจะขึ้นว่าจ่ายเงินแล้วหลังจากที่นักศึกษาชำระค่าธรรมเนียมผ่านธนาคารประมาณ 2-3 วันทำการ
ทำไมเอกสารออนไลน์โดนตีกลับ ?
เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยจัดส่งเอกสารแบบ EMS ส่วนใหญ่เอกสารที่โดนตีกลับไปรษณีย์แจ้งว่า “ไม่มารับภายในเวลาที่กำหนด” “จ่าหน้าไม่ชัดเจน” “ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า” “ย้ายที่อยู่”
การขอเอกสารออนไลน์ใช้ระยะเวลากี่วันจึงจะได้รับเอกสาร ?
เจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกเอกสารให้เมื่อระบบขึ้นว่าจ่ายเงินแล้ว และจัดส่งเอกสารแบบ EMS ในวันถัดไป ประมาณ 5 วัน
ขอเอกสารการศึกษาออนไลน์ไว้ แต่ต้องใช้เอกสารด่วน ต้องทำอย่างไร ?
หากต้องการด่วน ให้นำเอกสารไปชำระเงินที่ธนาคารมาแสดงที่กองบริหารงานวิชาการ วิทยาเขตสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และกองงานวิทยาเขตเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และรับเอกสารได้ทันที
ขอหนังสือรับรองได้ที่ไหนบ้าง ขอต่างวิทยาเขตอื่นได้ไหม ?
นักศึกษาสามารถขอหนังสือรับรองได้ทั้ง 3 วิทยาเขต ได้แก่ 1. กองงานวิทยาเขตเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 2. กองบริหารงานวิชาการ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 3. กองบริหารงานวิชาการ วังท่าพระ กรุงเทพฯ
หนังสือรับรอง/Transcript ขอแทนกันได้หรือไม่ ?
นักศึกษาสามารถขอหนังสือรับรอง/Transcript แทนกันได้ โดยนักศึกษาต้องกรอกข้อมูลในใบคำขอหนังสือสำคัญให้ถูกต้องและครบถ้วน
หนังสือรับรอง/Transcript มีอายุการใช้งานกี่เดือน ?
1. Transcript (สำเร็จการศึกษา) ไม่มีวันหมดอายุ 2. หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา มีอายุ 60 วัน
ค่าธรรมเนียมในการขอหนังสือรับรองเท่าไร ?
ค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท
มีบริการส่งเอกสารทางไปรษณีย์ไหม ?
มีบริการจัดส่งหนังสือสำคัญทางไปรษณีย์ โดยนักศึกษาจะต้องเสียค่าจัดส่งเอกสารแบบ EMS จำนวน 50 บาท
หนังสือรับรองคาดว่าสำเร็จการศึกษาขอได้เมื่อไหร่ ?
นักศึกษาสามารถขอหนังสือรับรองคาดว่าสำเร็จการศึกษาได้ต่อเมื่อนักศึกษาต้องยื่นขอสำเร็จการศึกษาแล้ว และในระบบ Reg ขึ้นสถานะว่า “รอการอนุมัติ”
สำเร็จการศึกษาไปแล้ว จะขอหนังสือสำคัญได้ไหม เช่น Transcript หนังสือรับรองว่าสำเร็จการศึกษา ?
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว สามารถขอหนังสือสำคัญได้ ติดต่อด้วยตนเองที่กองงานวิทยาเขตเพชรบุรี กองบริหารงานวิชาการ พระราชวังสนามจันทร์ และกองบริหารงานวิชาการ วังท่าพระ
สำเร็จการศึกษาไปแล้ว จะขอหนังสือสำคัญออนไลน์ได้หรือไม่ ?
นักศึกษาสามารถขอผ่านระบบออนไลน์ได้ตลอดเวลาผ่านเว็บไซต์ http://reg.su.ac.th และดำเนินการตามขั้นตอนในการขอเอกสาร ออนไลน์
หลังจากยื่นเอกสารขอสำเร็จการศึกษาแล้ว ใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะอนุมัติสำเร็จการศึกษา ?
ประมาณ 30 วันหรือ 1 เดือน
ใบปริญญาบัตรหาย มหาวิทยาลัยออกให้ใหม่ได้ไหม ?
หากใบปริญญาบัตรหาย มหาวิทยาลัยไม่สามารถออกให้ใหม่ได้ แต่นักศึกษาสามารถขอใบแทนปริญญาบัตรทดแทนได้
ทำไมเอกสารการศึกษาบางประเภท เช่น ใบแทนปริญญาบัตร ไม่สามารถขอได้ทันทีที่สำเร็จการศึกษา ?
ใบแทนปริญญาบัตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะสามารถขอได้ เมื่อสภามหาวิทยาลัยทำการอนุมัติปริญญาแล้วเท่านั้น
บัตรนักศึกษาหายต้องทำอย่างไร ทำที่ไหน ?
- นักศึกษารหัส 62 หากบัตรนักศึกษาหาย/ชำรุด/ลืมรหัส นักศึกษาต้องมาติดต่อขอหนังสือรับรองการทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่ที่ 1. กองงานวิทยาเขตเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดเพชรบุรี 2. กองบริหารงานวิชาการ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 3. กองบริหารงานวิชาการ วังท่าพระ โดยให้เตรียมบัตรประชาชนตัวจริง จากนั้นให้เดินทางไปติดต่อขอออกบัตรใหม่โดยนำเอกสารทั้งหมดไปที่ธนาคารกสิกรไทยตามสาขาที่กำหนด ดังนี้ 1. วิทยาเขตเพชรบุรี สาขาชะอำ 2. สนามจันทร์ สาขาเทสโก้โลตัส นครปฐม 3. กรุงเทพ สาขาเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า 4. สมุดบัญชีเล่มเดิมที่ออกโดยธนาคารกสิกรไทย ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถรับบัตรได้ภายใน 1 วันทำการ - นักศึกษารหัส 58- 61 จะต้องมาติดต่อกรอกข้อมูลทำบัตรประจำตัวนักศึกษาที่กองงานวิทยาเขตเพชรบุรี อาคารบริหาร ชั้น 1 พร้อมแนบเอกสารตามที่แจ้งในแบบฟอร์มฯ ยื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการจัดส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย สาขาชะอำเพื่อดำเนินการออกบัตรใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 30 วันทำการ ทั้งนี้ หากต้องการเปลี่ยนเป็นบัตรธนาคารกสิกรไทย จะต้องติดต่อขอหนังสือรับรองการทำบัตรประจำตัวนักศึกษาใหม่ที่ 1. กองงานวิทยาเขตเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดเพชรบุรี 2. กองบริหารงานวิชาการ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 3. กองบริหารงานวิชาการ วังท่าพระ โดยให้เตรียมบัตรประชาชนตัวจริง และไปติดต่อขอออกบัตรใหม่ที่ธนาคารกสิกรไทยตามสาขาที่กำหนด ดังนี้ 1. วิทยาเขตเพชรบุรี สาขาชะอำ 2. สนามจันทร์ สาขาเทสโก้โลตัส นครปฐม 3. กรุงเทพ สาขาเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
บัตรนักศึกษาหายสามารถใช้บัตรประชาชนเข้าสอบได้ไหม ?
นักศึกษาต้องติดต่อคณะวิชาที่สังกัดเพื่อแจ้งความประสงค์ขอใช้บัตรประชาชนแสดงตัวในการสอบแทน
ถ้าบัตรนักศึกษาหายจะลงทะเบียนเรียนได้หรือไม่ ?
นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ แต่นักศึกษาต้องนำเงินสดมาจ่ายที่การเงินของมหาวิทยาลัย
บัตรนักศึกษาหายไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาได้ต้องทำอย่างไร?
- นักศึกษายืนยันการลงทะเบียนในช่วงเวลาที่กำหนดตามปฏิทินการศึกษา - นักศึกษาติดต่อกองบริหารงานวิชาการ วังท่าพระ / พระราชวังสนามจันทร์ หรือ กองงานวิทยาเขตเพชรบุรี เพื่อทำบัตรใหม่ - กรณีเป็นบัตรที่ออกโดยธนาคารกรุงไทยสามารถชำระเงินผ่าน Application K PLUS – ยื่นคำร้องเพื่อชำระเงินสดได้ที่ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ หรือ งานการเงิน กองคลัง วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ หรืองานการเงิน กองคลัง วิทยาเขตเพชรบุรี
ทำไมนักศึกษาต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้บัตรนักศึกษา ?
เนื่องจากเป็นเงื่อนไขของธนาคาร
ชำระค่าหอพักได้ที่ไหน ?
กรณีที่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดในใบแจ้งหนี้ สามารถชำระผ่านธนาคารที่ปรากฏในใบแจ้งหนี้ได้กรณีที่พ้นระยะเวลาที่กำหนด สามารถชำระเงินได้ที่ 1. งานการเงิน กองคลัง วิทยาเขตเพชรบุรี 2. งานการเงิน กองคลัง วิทยาเขตสนามจันทร์
กู้ กรอ.ต้องจ่ายค่าหอพักก่อนแล้วค่อยเอาใบเสร็จมาเบิกคืนใช่หรือไม่ ?
นักศึกษากู้ยืมได้เฉพาะค่าเล่าเรียนเท่านั้น ค่าหอพักต้องชำระเงินเอง
เงินค่าประกันของเสียหายหอพัก 500 บาทจะได้เมื่อไหร่ ?
เมื่อลาออกจากหอพักและไม่มีของเสียหายในห้องพัก
เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา ต้องย้ายของออกจากหอพักเลยหรือไม่ ?
ต้องย้ายของออกจากหอพักก่อนวันประกาศปิดหอพัก เนื่องจาก มหาวิทยาลัยจะต้องทำความสะอาด และตรวจสอบความชำรุดเสียหายในห้องพักพร้อมซ่อมแซมในช่วงปิดภาคการศึกษา
กรณีที่ครุภัณฑ์ชำรุด ให้ตั้งหนี้ในระบบได้ไหม ?
สามารถตั้งหนี้ในระบบได้ โดยนักศึกษาจะต้องมาแจ้งที่เจ้าหน้าที่ประจำหอพัก
นักศึกษาขอย้ายห้องได้ไหม ?
สามารถย้ายได้หากมีห้องพักว่าง โดยนักศึกษาจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำหอพัก
นักศึกษาทำบัตรคีย์การ์ดเข้าหอพักหาย จะทำใหม่ได้ไหม ?
สามารถทำบัตรใหม่ได้ โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำหอพักและชำระเงิน จำนวน 100 บาท
ลาออกจากหอพักต้องทำอย่างไร ?
รับและยื่นคำร้องขอลาออกจากหอพักที่เจ้าหน้าที่พร้อมชำระเงินในส่วนที่คงค้างให้กับมหาวิทยาลัย
นักศึกษาเข้าหอพักหลังเวลาหอปิดต้องทำอย่างไรบ้าง ?
1. กรณีที่เป็นกิจกรรมและโครงการ ดำเนินการแจ้งความประสงค์ขอเข้าหอพักหลังกำหนดโดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการลงชื่อรับรองและส่งเอกสารที่สำนักงานหอพักนักศึกษา 2. กรณีอื่นๆ ให้ติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาประจำหอพัก เพื่อลงชื่อรับรองการเข้าหอพัก
นักศึกษาสอบถามเรื่องกุญแจห้องพักหายสามารถปั๊มมาคืนได้หรือไม่ ?
ไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก หอพักจะดำเนินการเปลี่ยนลูกบิดให้ใหม่ เพื่อความปลอดภัยของนักศึกษา
การชำระค่าหอพักต้องจ่ายเป็นรายเดือน หรือเป็นเทอม ?
มหาวิทยาลัยเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายภาคการศึกษา (เทอม)
ชำระเงินหน้าเคาน์เตอร์ด้วยอะไรบ้าง ?
เงินสด แคชเชียร์เช็ค
ถ้าไม่สะดวกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาทุกช่องทางชำระเงินเป็นเงินโอนได้ไหม ?
ไม่ได้ เนื่องจาก มหาวิทยาลัยมีการโอนเงินเข้ามาในระบบจำนวนมาก จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นเงินโอนค่าอะไร
ไม่สามารถชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาตามกำหนดต้องทำอย่างไร ?
นักศึกษาติดต่อทะเบียนคณะวิชาต้นสังกัด จะต้องขอผ่อนผันการชำระเงินเป็นลายลักษณ์อักษร โดยผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา และคณบดีคณะวิชาของตน ซึ่งจะสามารถขอผ่อนผันได้เฉพาะค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมพิเศษ โดยมีค่าธรรมเนียมของส่วนกลางที่นักศึกษาไม่สามารถขอผ่อนผัน ได้แก่ ค่าบำรุงกิจกรรมนักศึกษา ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ค่าบำรุงคอมพิวเตอร์ ค่าบำรุงห้องสมุด ค่าบำรุงสุขภาพ ค่าธรรมเนียมบริการลงทะเบียน และค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุ
ขอใบเสร็จรับเงินได้ที่ไหน ?
กรณีชำระเงินออนไลน์ จากบัญชีธนาคารกรุงไทย สามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินที่หน้าระบบ REG. เมนู “พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน” โดยการ Print ครั้งแรกจะเป็นต้นฉบับ สามารถนำไปประกอบการเบิกได้ หากใบเสร็จสูญหายและ Print ใหม่จะเป็น (สำเนา) จะต้องมาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อลงนามรับรอง โดยติดต่อที่กองคลัง สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน กรุงเทพ หรือ การเงิน กองคลัง วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และการเงิน กองคลัง วิทยาเขตเพชรบุรี หรือมาขอใบเสร็จใหม่จากเจ้าหน้าที่การเงินทั้ง 3 แห่ง
สามารถชำระเงินค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ได้ไหม?
ชำระได้ที่เคาน์เตอร์ชำระเงินของมหาวิทยาลัย
ทำไมต้องคิดค่าปรับชำระเงินช้า ?
เป็นไปตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต 2 ใบได้ไหม ?
ชำระได้ แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมตามจำนวนที่กำหนด
ช่วงลงทะเบียนชำระเงิน ไม่สามารถปริ้นใบชำระเงินได้ ต้องมาชำระเงินสดหน้าเคาน์เตอร์โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะอะไร ?
ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเงินในบัญชีมีเพียงพอที่จะให้ธนาคารหัก หากธนาคารตัดเงินแล้ว อีก 2-3 วัน สามารถ print ใบเสร็จรับเงินในระบบได้ ไม่จำเป็นต้องมาจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ของมหาวิทยาลัย
ลงทะเบียนในระบบไปแล้ว แต่ข้อมูลหายชำระเงินไม่ได้ต้องทำไง ?
เมื่อลงทะเบียนแล้ว ให้ชำระเงินโดยตัดจากบัญชีภายใน 3 วัน หรือชำระเงินที่เคาน์เตอร์ของมหาวิทยาลัย หากไม่ชำระระบบจะลบผลการลงทะเบียนซึ่งจะต้องลงทะเบียนใหม่
ชำระเงินหน้าเคาน์เตอร์ได้ที่ไหนบ้าง ?
1. กองคลัง ชั้น 6 สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน กรุงเทพ 2. การเงิน ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 3. การเงิน ชั้น 1 กองงานวิทยาเขตเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
เอกสารแนบเบิกค่าเล่าเรียนขอได้ที่ไหน?
สามารถ print จากระบบ REG เมนู เอกสารแนบการเบิกค่าเล่าเรียน
จำรหัส (บัตรนักศึกษา) สำหรับจ่ายเงินออนไลน์ (ธ.กรุงไทย) ไม่ได้ ต้องทำยังไง?
ต้องติดต่อสอบถามจากธนาคารโดยตรง
มีหนี้ค่าลงทะเบียน/ค้างชำระ เท่าไหร่ ?
ต้องตรวจสอบจากระบบ REG
ลงทะเบียนต่ำสุด-สูงสุดได้กี่หน่วยกิต ?
ภาคการศึกษาปกติลงทะเบียนได้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต ภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อนลงทะเบียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต
ลงทะเบียนไม่ทัน ต้องทำอย่างไร ?
นักศึกษาจะต้องยื่นคำร้อง “ขอลงทะเบียน / เพิ่ม / ถอน ช้าเป็นกรณีพิเศษ โดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ ยื่นคำร้องที่คณะวิชาต้นสังกัดผ่านคณะกรรมการประจำคณะวิชาที่นักศึกษาสังกัด
ต้องการลงทะเบียน แต่ที่นั่งกันสำรองเต็มต้องทำอย่างไร ?
นักศึกษาต้องขออนุญาตลงทะเบียนเรียน (สำรองที่นั่ง) โดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอนวิชา ผ่านเจ้าหน้าที่ทะเบียนคณะวิชาของคณะวิชานั้น ๆ
ลงทะเบียนไม่ได้เนื่องจากตารางเรียน-ตารางสอบซ้าซ้อนต้องทำอย่างไร ?
1.กรณีที่นักศึกษามีความประสงค์จะลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่มีเวลาเรียนซ้าซ้อนกัน จะต้องขออนุญาตลงทะเบียนเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชาที่มีเวลาเรียนซ้าซ้อนกัน 2.กรณีที่นักศึกษามีความประสงค์จะลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่มีเวลาสอบซ้าซ้อนกัน จะต้องขออนุญาตลงทะเบียนเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอนและคณบดีคณะวิชารายวิชาที่ประสงค์จะลงทะเบียนทุกรายวิชาที่มีตารางสอบซ้าซ้อนกัน
ลงทะเบียนไปแล้วแต่ต้องการเอาบางรายวิชาออกทำอย่างไร ?
ภายใน 14 วันแรกของภาคการศึกษาปกติ หรือ 7 วันแรกของภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน นักศึกษาสามารถทำการถอนรายวิชาผ่านระบบบริการการศึกษาทางเว็บไซต์ http://reg.su.ac.th หรือ Mobile Application SU Smart REG
ลงทะเบียน หรือเพิ่มรายวิชาแล้ว ยังไม่มีชื่อปรากฏในรายวิชาเพราะอะไร ?
เนื่องจากการชำระเงินยังไม่สมบูรณ์ นักศึกษายังมีหนี้ค้างชำระกับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ รวมถึงค่าธรรมเนียมหอพัก ค่าน้า ค่าไฟ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ด้วย
ถอนรายวิชาแล้ว ทำไมยังพบรายวิชาดังกล่าวในตารางเรียน-ตารางสอบอยู่ ?
การทำการถอนรายวิชาภายหลัง 14 วันแรกของภาคการศึกษาปกติ หรือ 7 วันแรกของภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน รายวิชาดังกล่าวจะยังปรากฏอยู่ในตารางเรียน และแสดงสัญลักษณ์ W ในระเบียนผลการศึกษา
ไม่ได้ทำการลงทะเบียนเรียน จะมีผลอย่างไร ?
หากนักศึกษาไม่ทำการลงทะเบียนเรียน และไม่ได้ลาพักการศึกษา จะถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา และพ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษา
การถอนรายวิชาจะได้รับเงินคืนหรือไม่ ? และเมื่อไหร่จะได้รับเงินคืน (ค่าถอนรายวิชา) ?
1.การถอนรายวิชาภายใน 14 วันแรกของภาคการศึกษาปกติ หรือ 7 วันแรกของภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน 1.1 กรณีนักศึกษาชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนในอัตราจำนวนหน่วยกิต จะได้รับเงินค่าถอนรายวิชาคืน 1.2 กรณีนักศึกษาชำระเงินค่าลงทะเบียนแบบเหมาจ่าย จะพิจารณาจำนวนหน่วยกิตรวมภายหลังการถอนรายวิชา และอาจจะมีการคืนค่าลงทะเบียนเรียนตามอัตราที่กำหนด 2. การถอนรายวิชาหลังระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มหาวิทยาลัยไม่คืนค่าธรรมเนียมการศึกษาไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
การเพิ่มรายวิชาจะต้องชำระเงินเพิ่มหรือไม่ เท่าไร ?
1. การเพิ่มรายวิชาภายใน 14 วันแรกของภาคการศึกษาปกติ หรือ 7 วันแรกของภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน 1.1 กรณีนักศึกษาชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนในอัตราจำนวนหน่วยกิต จะต้องชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนตามจำนวนหน่วยกิตที่เพิ่มขึ้น 1.2 กรณีนักศึกษาชำระเงินค่าลงทะเบียนแบบเหมาจ่าย จะพิจารณาจำนวนหน่วยกิตรวมภายหลังการเพิ่มรายวิชา และให้ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาเพิ่มตามอัตราที่กำหนด 2. การเพิ่มรายวิชาภายหลังระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด จะต้องชำระค่าปรับรายวิชาละ 100 บาท และชำระค่าลงทะเบียนเพิ่มตามอัตราที่กำหนด
ไม่มีวิชาลงทะเบียนเรียนต้องทำอย่างไร ?
นักศึกษาจะต้องยื่นคำร้องลาพักการศึกษาต่อคณบดีของคณะที่ต้นสังกัดภายใน 30 วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษา โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่อรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา
ไม่สามารถลงทะเบียนได้ เนื่องจากไม่ได้ลงทะเบียนในช่วงเวลาที่กำหนด ต้องทำอย่างไร ?
นักศึกษาจะต้องยื่นคำร้อง “ขอลงทะเบียน / เพิ่ม / ถอน ช้าเป็นกรณีพิเศษ ผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ และยื่นที่คณะวิชาที่นักศึกษาสังกัดผ่านคณะกรรมการประจำคณะวิชาที่นักศึกษาสังกัด
ลงทะเบียนมากกว่าเกณฑ์ต้องทำอย่างไร?
นักศึกษายื่นคำร้องขอลงทะเบียนหน่วยกิตน้อย กว่าหรือมากกว่าเกณฑ์ ผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ ยื่นที่คณะวิชาต้นสังกัด ผ่านคณบดีคณะวิชาที่นักศึกษาสังกัด
ลงทะเบียนผิดกลุ่ม ผิดหลักสูตรต้องทำอย่างไร ?
- ภายใน 14 วันแรกของภาคการศึกษาปกติ หรือ 7 วันแรกของภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน นักศึกษาสามารถทำการเปลี่ยนกลุ่มรายวิชาที่ลงทะเบียนผิดกลุ่มผ่านเว็บไซต์ http://reg.su.ac.th หรือ แอพพลิเคชั่น - ภายใน 14 วันแรกของภาคการศึกษาปกติ หรือ 7 วันแรกของภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน นักศึกษาสามารถทำการถอนรายวิชาที่ลงทะเบียนผิดหลักสูตร และทำการเพิ่มรายวิชาที่ถูกต้องผ่านเว็บไซต์ http://reg.su.ac.th หรือ Application SU SMART REG - ภายหลังจากระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาจะต้องยื่นคำร้อง “ขอลงทะเบียน / เพิ่ม / ถอน ช้าเป็นกรณีพิเศษ ผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ ผ่านคณะกรรมการประจำคณะวิชาที่นักศึกษาสังกัด
ลงทะเบียนวิทยานิพนธ์แบบแบ่ง หน่วยกิตต้องทำอย่างไร ?
ติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เขียนคำร้องยื่นที่กองบริหารงานวิชาการ
มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถเรียนต่อได้ควรทำอย่างไร ?
หากนักศึกษาไม่ยื่นคำร้องขอลาพักการศึกษา หรือลาออกต่อคณบดีของคณะที่ต้นสังกัดภายใน 30 วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษา จะถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา และพ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษา
ต้องการลาพักการศึกษาทำอย่างไร ?
นักศึกษายื่นคำร้องลาพักต่อคณบดีคณะวิชาที่ต้นสังกัด โดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใน 30 วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษา
ต้องการลาออกทำอย่างไร ?
นักศึกษายื่นคำร้องลาออกต่อคณบดีคณะวิชาที่ต้นสังกัด โดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใน 30 วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษา
สถานภาพ “รอพินิจ” คืออะไร ? จะถูกประกาศพ้นสภาพหรือไม่ ? เมื่อไร ?
สถานภาพ “รอพินิจ” คือ นักศึกษาที่ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมต่ากว่า 2.00 โดยนักศึกษาจะถูกประกาศพ้นสภาพ เมื่อ - ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมต่ากว่า 1.50 เมื่อมีการจำแนกสภาพนักศึกษา - ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมต่ากว่า 1.80 สองภาคการศึกษาที่มีการจำแนกสภาพนักศึกษาต่อเนื่องกัน - ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมต่ากว่า 2.00 สี่ภาคการศึกษาที่มีการจำแนกสภาพนักศึกษาต่อเนื่องกัน
การติดค่า I หมายถึงอะไร ? และต้องทำอย่างไร ?
I คือ ผลการศึกษาไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจเกิดจาก - นักศึกษาป่วยมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มหาวิทยาลัยยอมรับ - นักศึกษาขาดสอบ โดยได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่สังกัด - นักศึกษายังปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายไม่สมบูรณ์ และอาจารย์ผู้สอนเห็นว่ายังไม่ควรประเมินผลการศึกษา
ผลการศึกษา X หมายถึงอะไร ? และต้องทำอย่างไร ?
ผลการศึกษา X หมายถึงรายวิชาที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาไม่ส่งผลการศึกษาตามมหาวิทยาลัยกำหนด
ทำไมผลการศึกษายังไม่ปรากฏในระบบ?
อาจารย์ผู้สอนหรือคณะวิชายังส่งเกรดไม่ถึงกองบริหารงานวิชาการ
การถอนรายวิชา โดยได้รับสัญลักษณ์ W จะมีผลต่อการได้เกียรตินิยมหรือไม่ ?
การได้รับสัญลักษณ์ W ไม่มีผลต่อการได้เกียรตินิยม
วันสุดท้ายของการส่งผลการศึกษาคือวันไหน ?
ดูปฏิทินการศึกษา http://reg.su.ac.th
ผลการศึกษา I จะถูกเปลี่ยนเป็น F เมื่อไร ?
หากอาจารย์ผู้สอนไม่รายงานผลการศึกษาภายใน 14 วันแรกของภาคการศึกษา ผลการศึกษาจะถูกเปลี่ยนเป็น F หรือ U โดยอัตโนมัติ
ทำไมลงทะเบียนภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน และมีผลการศึกษาเฉลี่ยสะสมมากกว่า 2.00 แต่สถานภาพนักศึกษายังเป็น “รอพินิจ” ?
ไม่มีการจำแนกสภาพนักศึกษาในภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน
พ้นสภาพฯ เนื่องจากผลการศึกษา แต่ลงทะเบียนและชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคการศึกษาถัดไปแล้ว จะได้รับเงินคืนหรือไม่ ? และต้องทำอย่างไร?
ให้นักศึกษายื่นคำร้องผ่านคณะวิชาต้นสังกัด เพื่อขอรับเงินคืน
เรียนครบโครงสร้างหลักสูตรแล้ว แต่สถานะเป็น Fail ?
โปรแกรมตรวจสอบจบการศึกษา ยังไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้สมบูรณ์และการจัดหมวดหมู่ยังไม่ถูกต้อง
ผลการศึกษาครบแล้ว แต่ทำไมยังไม่สำเร็จการศึกษา ?
การขออนุมัติการศึกษา เจ้าหน้าที่กองบริหารงานวิชาการจะต้องตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของผลการศึกษา การลงทะเบียนตามโครงสร้างหลักสูตร ก่อนจะนำเสนอคณะวิชาเพื่อขออนุมัติ
เกรดออกนานแล้ว ทำไมถึงยังไม่อนุมัติสำเร็จการศึกษา ? เมื่อผลการศึกษาครบแล้ว จะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติสำเร็จการศึกษานานเท่าไร ?
ยังมีขั้นตอนการพิจารณา ผ่านคณะกรรมการประจำคณะ ประกาศสำเร็จการศึกษา ผ่านสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัย
วันที่สำเร็จการศึกษาคือวันไหน ?
หากนักศึกษายื่นคำร้องขอจบก่อนวันปิดภาคการศึกษา วันสำเร็จการศึกษา คือ วันปิดภาคการศึกษา
เมื่ออนุมัติสำเร็จการศึกษาแล้ว จะใช้เวลาในการอนุมัติปริญญานานเท่าไร ?
ภายในประมาณ 1 เดือน
ยื่นขอสำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา ต้องทำอย่างไร ?
ให้ลงทะเบียนเรียนวิชาที่ยังขาดอยู่ กองบริหารงานวิชาการแจ้งกลับไปคณะวิชาต้นสังกัด
ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้ แต่ประสงค์จะเข้าร่วมในปีถัดไป ต้องทำอย่างไร ?
ยื่นคำร้องขอเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ภายใน 2 ปี
คุณมีคำถาม? เรามีคำตอบ!
คำถาม และคำตอบเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา ระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย
มีอาจารย์ผู้สอนร่วมในรายวิชาจะเข้าไปจัดการเนื้อหาในระบบได้อย่างไร?
สามารถเพิ่มอาจารย์ผู้สอนร่วมในรายวิชาเดียวกันได้ โดยอาจารย์ทุกท่านมีสิทธิ์เข้าถึงและจัดการทุกส่วนในรายวิชาเท่าๆ กันอาจารย์สามารถแก้ไขเนื้อหาได้เองหรือไม่?
หากเป็นรายวิชาในโครงการที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อฯ ให้โดยใช้โปรแกรมเฉพาะทาง อาจารย์ไม่สามารถการแก้ไขได้ด้วยตนเอง แต่หากเป็นไฟล์เอกสารต่างๆ ที่อยู่ในรายวิชา อาจารย์สามารถแก้ไขและจัดการได้ด้วยตนเองเข้าระบบ SU e-Learning ทางไหนได้บ้าง?
ระบบ SU e-Learning เข้าได้ดังนี้::
- วิธีที่1 : เข้าผ่าน http://www.suelearning.su.ac.th
- วิธีที่2 : เข้าผ่าน SU Web Portal
อาจารย์ไม่เห็นรายวิชาของตนเอง ในระบบ SU?
โดยปกติแล้ว อาจารย์จำเป็นต้องแจ้งเพื่อขอเปิดรายวิชาของตนเองในระบบ SU e-Learning เสียก่อน จึงจะสามารถเห็นรายวิชาของตนเองและเข้าไปจัดการรายวิชาได้เข้าระบบ SU e-Learning ทางไหนได้บ้าง?
หากอาจารย์ไม่เคยมีการใช้งานรายวิชามาก่อน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเปิดใช้งานรายวิชาขนาดไฟล์สูงสุด ที่นักศึกษาสามารถส่งการบ้านได้?
500 เมกกะไบต์ลืม Username SUNet ไม่ได้
นามสกุล_อักษรตัวแรกของชีื่อจริงจำ Password SUNet ไม่ได้
ให้เข้าไปกรอกข้อมูลที่เมนู ลืมรหัสผ่าน เพื่อตั้งใหม่