หมวดที่ ๔

สำนักงานสีเขียว (Green Office)

 

 

หมวดที่ ๔ การกำจัดของเสีย 

 

หมวด/ตัวชี้วัด หลักฐานการตรวจประเมิน
หมวด ๔ การจัดการของเสีย
๔.๑ การจัดการของเสีย
(ผู้รับผิดชอบ : คุณศิริพร/คุณอัญชลี/คุณภัทราวดี/คุณกัลยา/คุณยศ/คุณเกตุแก้ว/คุณจิตติไพบูลย์)
๔.๑.๑ มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวมและการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
(๑) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(๒) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
(๓) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (๑) อย่างเพียงพอ
(๔) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(๕) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
(๖) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
(๗) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)
๔.๑.๑ กองงานวิทยาเขตเพชรบุรีได้มีการดำเนินงานตาม แนวทาง การคัดแยกรวบรวมและการจัดการขยะ อย่างเหมาะสมและมีการคัดแยกขยะตามประเภท
- ขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยมีแนวทางดำเนินงานดังนี้
(๑)-(๓) - ขั้นตอนการดำเนินงาน เรื่องการจัดการขยะ
- คลิปวีดีโอแนะนำการคัดแยกขยะ
- แผนผังจุดที่ตั้งถังขยะ ๑๓ จุด
- หลักเกณฑ์การตั้งถังขยะ ๑๓ จุด
- ป้ายบ่งชี้ประเภทขยะ
- จุดพักขยะกองงานวิทยาเขตเพชรบุรี
(๔)-(๗) - แบบฟอร์มการสังเกตการณ์การทิ้งขยะ ในกองงานวิทยาเขตเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร (google form)
- แบบฟอร์มการตรวจสอบการคัดแยกขยะ ของแม่บ้าน/คนงาน/คนสวน ณ จุดพักขยะ
- จุดพักขยะมหาวิทยาลัยศิลปากร
- สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย เทศบาลเมืองชะอำ
- ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน
๔.๑.๒ การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
(๑) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
(๒) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน
(๓) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนด จากหมวด ๑ ข้อ ๑.๑.๕
(๔) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง
๔.๑.๒ การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
(๑) มีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
- โครงการประดิษฐ์กระถางต้นไม้จาก
- กระดาษที่ใช้แล้ว ๒ หน้า
- การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารและเศษใบไม้
(๒) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท
- ข้อมูลปริมาณขยะ ๒๕๖๕
(๓)-(๔)
การวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมาย
๔.๒ การจัดการน้ำเสีย
(ผู้รับผิดชอบ : )
๔.๒.๑ การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง จะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทาง ดังนี้
(๑) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
(๒) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษ อาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
(๓) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
(๔) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
๔.๒.๑ การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง จะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย
- การจัดการนำ้เสียในสำนักงาน
(๒) การบำบัดน้ำเสียโดยติดตั้งบ่อดักไขมัน
(๓) มีการบำบัดน้ำเสียทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสียโดย
- ติดตั้งบ่อดักไขมัน ๕ จุด
(๔) สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
- รายงานผลการวิเคราะห์น้ำทิ้งจากอาคารบริหาร ประจำปี ๒๕๖๕
- ผลการวิเคราะห์น้ำทิ้งจากอาคารบริหาร เทียบกับมาตรฐานควบคุมการ ระบายน้ำทิ้งจากอาคาร ประเภท ข
๔.๒.๒ การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทาง ดังนี้
(๑) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหารและไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
(๒) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียหรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
(๓) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
(๔) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ
๔.๒.๒ การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย
(๑) บันทึกการตักคราบน้ำมัน ไขมัน และตรวจเช็คสภาพถังบำบัด
(๒) การนำเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากบ่อดักไขมัน ไปทำปุ๋ยอินทรีย์
- ขั้นตอนและกระบวนการในการกำจัดไขมันถังดักไขมัน
(๓) กองงานวิทยาเขตเพชรบุรีไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย แต่ระบายน้ำเสียลงบ่อบำบัดของมหาวิทยาลัย

(๔) การตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสีย เพื่อป้องกันการปนเปิื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ

 

 

 



Top
We use cookies to improve our website. By continuing to use this website, you are giving consent to cookies being used. More details…